
1. เข้าใจความรู้สึกคนในทีม
การที่คนอายุน้อยกว่า หรืออ่อนประสบการณ์กว่าได้ขึ้นเป็นหัวหน้า คนในทีมอาจจะรู้สึกไม่ดีนัก คุณที่เป็นหัวหน้าควรพยายามเข้าใจและถามความรู้สึกของคนในทีมให้มาก ๆ อย่าคิดเอาเองว่าคุณเข้าใจพวกเขาหรือบอกพวกเขาว่าคุณเข้าใจโดยที่ยังไม่ได้พูดคุยกัน อย่างจริงจัง
ซึ่งบางทีสาเหตุอาจเป็นเพราะ เขาไม่เชื่อมั่นในการทำงานของคุณหรือคิดว่าบริษัทไม่ให้ความสำคัญ และให้คนที่เด็กกว่าขึ้น มาเป็นคนดูแลพวกเขา ดังนั้น คุณควรแสดงให้เขาเห็นว่า คุณตั้งใจมากแค่ไหน และตำแหน่งที่ได้มานั้นมาจากความสามารถของคุณจริง ๆ
2. เคารพพวกเขาด้วยการ ”ขอความร่วมมือ”
ก็จริง ที่คุณมีตำแหน่งสูงกว่าและสามารถสั่งงาน พวกเขาได้ แต่คุณต้องอย่าลืมว่าสิ่งที่พวกเขา มีมากกว่าคุณคือประสบการณ์การทำงาน รวมถึงการผ่านโลกมามากกว่าคุณดังนั้น สิ่งที่คุณควรทำคือการทำงานกับพวกเขาด้วยความเคารพ
และให้เกียรติซึ่งกันและกัน เวลาจะสั่งงานพวกเขา ลองเปลี่ยนจากคำสั่งมาใช้คำว่า “ขอความร่วมมือ” แทนเพียงเท่านี้ก็ทำให้การสื่อสารของคุณนุ่มนวลมากขึ้น และเชื่อว่าพวกเขาจะยอมเปิดใจและให้ความร่วมมือ มากกว่าการเอาแต่สั่งแน่นอน
3. ขอคำแนะนำและถามความคิดเห็น
จงมองคนในทีมที่มีอายุมากกว่า เป็นเหมือนรุ่นพี่ที่ให้คำปรึกษาได้ อย่าลังเลที่จะถามในสิ่งที่ไม่รู้ หรือขอความเห็นพวกเขา เมื่อต้องตัดสินใจ อะไรบางอย่างเพราะมันจะทำให้คุณเห็นมุมมอง ที่แตกต่างจากคนที่มีประสบการณ์มากกว่าคุณ
ควรเลือกถามในเชิงขอความเห็นหรือถาม คำถามแบบเปิด อาจไม่ใช่แค่เรื่องงานแต่รวมถึง เรื่องการใช้ชีวิตด้วย การทำแบบนี้จะทำให้เขารู้สึกว่าคุณไม่ใช่พวกรู้มาก ที่คิดว่าตัวเองเก่งไปซะทุกเรื่อง
และทำให้พวกเขารู้สึกว่าคุณให้ความสำคัญ และให้เกียรติเขาซึ่งแน่นอน ว่ามันจะส่งผลให้คุณสามารถดูแลและบริหารงานได้ดีและง่ายขึ้น
4. ให้อิสระการทำงานบ้าง
จำไว้ว่าเราไม่ได้ทำงานกับเด็ก ที่ต้องคอยจู้จี้เรื่องวินัยบางเรื่องที่ไม่จำเป็น อย่าพยายามใช้อำนาจตามตำแหน่งเข้าไปกดดันลูกทีม ในทางที่ผิด เช่น บ่นเรื่องวินัยเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือจับผิดการทำงาน เพราะมันจะยิ่งทำให้พวกเขาเบื่อหน่ายในพฤติกรรมของคุณ
เขาโตพอมีประสบการณ์ และรู้งานดีอยู่แล้วดังนั้นปล่อยให้พวกเขาได้ทำงาน อย่างมีอิสระบ้าง แค่ตั้งเป้าหมายและมาตรฐานให้เขาจากนั้นรอวัดผลกันที่ เ นื้ อ งานอีกทีจะดีกว่า
5. โชว์ความสามารถของคุณ
แสดงให้คนในทีม เห็นว่าคุณมีความรู้ ความสามารถ ซึ่งไม่ได้มาจากหนังสือเท่านั้น แต่รวมไปถึงความรู้ที่สั่งสมมา จากการทำงานด้วยเพราะคนที่อายุมากกว่ามักจะมองว่า คนที่อายุน้อยกว่าไม่น่าจะมีความสามารถมากพอที่จะเป็นหัวหน้าเขาและอย่าลืมที่จะนำความรู้ ที่คุณมีไปสร้างประโยชน์
และเพิ่มพูนความสามารถของคนในทีมด้วย เช่น แนะนำเขาเรื่องการใช้เทคโนโลยี ต่าง ๆ ไม่ใช่วิธีการสั่งหรือบังคับ แต่ให้ใช้เหตุผลอธิบายถึงข้อดีของการใช้เทคโนโลยีซึ่งความสามารถที่คุณมีนี่เองที่จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้คนในทีมยอมรับในตัวคุณ
6. เรียนรู้และเคารพในความแตกต่าง
ช่วงวัยที่ห่างกัน ย่อมมีความคิด การแสดงออกและการกระทำที่แตกต่างกัน คนที่เป็นหัวหน้าจำเป็น ต้องเรียนรู้และเคารพในความต่างเหล่านั้นอย่าคิดว่าสิ่งใหม่ ย่อมดีกว่าสิ่งเก่าเสมอไป เช่น คนรุ่นใหม่มักจะชอบใช้การสื่อสารทางออนไลน์เพื่อติดต่องาน
ในขณะที่คนที่มีอายุมากขึ้นมาอีกหน่อยชอบ ที่จะโทรศัพท์ หรือเดินไปพูดคุยด้วยตัวเอง ซึ่งในบางครั้ง การโทรศัพท์ หรือเดินไปคุยอาจเป็นวิธีการสื่อสารที่เข้าใจได้ง่ายกว่า ดังนั้น ถึงแม้ว่าคุณจะชอบวิธีการสั่งงานผ่านทางอีเมล แต่ก็ต้องปรับเปลี่ยนบ้าง เมื่อต้องพูดคุยกับคนที่มีอายุมากกว่า
7. อย่าตัดสินคนล่วงหน้า
คนหนุ่มสาวบางคน ชอบมองว่าคนที่อายุมาก มักจะเป็นคนไม่ทันสมัย ทำอะไรช้า และล้าหลัง ซึ่งเป็นความคิดที่ไม่ดีนักและจะยิ่ง เ ล ว ร้ า ย มากขึ้นหากคนที่คิดแบบนี้ คือคนที่เป็นหัวหน้าหรือผู้บริหาร
เช่น อย่าคิดว่าคนอายุมากจะไม่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเสมอไป พวกเขาอาจจะไม่เล่นโซเชียลมีเดียหรือเชี่ยวชาญ เรื่องเทคโนโลยีเท่าคุณ แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า พวกเขาไม่มีความสามารถที่จะเรียนรู้
ขอขอบคุณ b u s i n e s s 2 c o m m u n i t y,a d v i s o r t o d a y,l i n k e d i n