Home ข้อคิด เงินเดือนน้อย เงินก็ต้องเก็บ ควรจัดสรรอย่างไรให้ลงตัว

เงินเดือนน้อย เงินก็ต้องเก็บ ควรจัดสรรอย่างไรให้ลงตัว

5 second read
0
1
443

ในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่เป็นตัวกำหนดการกระทำ ของแต่ละคน คงจะหนีไม่พ้นพื้นฐานของครอบครัว ถ้าใครอยู่ในครอบครัว ที่ไม่ต้องให้ลูกหลานมาอุปการะเลี้ยงดู ก็อาจจะไม่ต้องแบกรับภาระอะไรมากมาย แค่หาเงินเลี้ยงตัวเองให้รอดก็พอ แล้วถ้าพอจะมีเงินเหลือเก็บ จะมาดูแลพ่อแม่ด้วย

ก็ถือเป็นเรื่องดีมาก ที่จะทดแทนพระคุณของท่าน แต่ถ้าใครอยู่ในครอบครัวที่ยังมีค่านิยมว่าพ่อแม่ต้องพึ่งพาลูกได้ ลูกต้องอุปการะ เลี้ยงดูพ่อแม่ ในยามที่ลูกหารายได้เองได้แล้ว และพี่น้องต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันในเรื่องการเงิน

ตรงนี้เราก็ต้องหาทาง วางแผนการเงินตัวเองให้เพียงพอต่อความรับผิดชอบที่มากขึ้น ยิ่งถ้าเราเพิ่งเริ่มทำงาน ได้ไม่นาน ยังมีรายได้น้อยอยู่ ก็จำเป็นต้องวางแผนการเงินให้มีประสิทธิภาพที่สุดเท่าที่จะทำได้

โดยลองทำตาม 5 ขั้นตอนการวางแผนการเงิน สำหรับคนเงินเดือนน้อย แต่มีภาระหนักอึ้ง ที่ต้องรับผิดชอบ ว่าควรต้องทำยังไงกันบ้าง จะเริ่มวางแผนการเงินจากตรงไหนดี

5 ขั้นตอนวางแผนการเงิน ฉบับคนเงินเดือนน้อย แต่ภาระหนักอึ้ง

1. หักเงินออมไว้ก่อน 10% ของรายได้

ตรงนี้ขอย้ำว่าจำเป็นมาก และเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นอย่างแรก ในการวางแผนการเงิน เพราะต่อให้เราจะมีรายได้น้อยแค่ไหนก็ตาม ถ้าเราไม่เริ่มต้นด้วยการหักเงินออมไว้ก่อน แล้วนำไปลงทุน หาผลตอบแทนที่เหมาะสม เราก็จะไม่มีทางมีอิสรภาพทางการเงินได้เลย

แล้วพอเราเริ่มมีรายได้มากขึ้น ก็อาจจะขยับสัดส่วน การออมเงินเพิ่มขึ้นไปเป็น 15% หรือ 20% โดยแบ่งสัดส่วน การออมตามเป้าหมายของเรา ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น ออมเพื่อซื้อบ้าน แต่งงาน หรือเกษียณ เพื่อจะได้เลือกลงทุนให้เหมาะสมกับแต่ละเป้าหมายที่เราตั้งไว้

2. จัดสรรเงินที่เหลือให้ลงตัว กำหนดสัดส่วนการใช้จ่ายให้ชัดเจน

นำเงิน 90% ที่เหลือ มาเตรียมสำหรับใช้จ่าย โดยลองลิสต์ดูว่า มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างที่เราต้องรับผิดชอบ เริ่มจากค่าใช้จ่ายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และไม่สามารถหาทางประหยัดได้มากกว่านี้ แล้วในทุกเดือน เช่น ค่าเช่าที่พัก ค่าเดินทางไปทำงาน

แล้วค่อยนำส่วนที่เหลือมาจัดสรรไว้ สำหรับค่าใช้จ่ายที่ผันแปรตามการใช้จ่ายของเรา เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่ากิน และค่าใช้จ่ายเพื่อให้รางวัลตัวเองเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแต่ละเดือน ให้เราได้มีกำลังใจสู้ต่อไป

3. จำกัดความช่วยเหลือ ด้วยทางเลือกอื่นที่ไม่ต้องใช้เงิน

ในเมื่อเรามีเงินจำกัด และก็จัดสรรปันส่วน ในการใช้จ่ายและดูแลพ่อแม่แบบรัดเข็มขัดสุด ๆ แล้ว ถ้ายังต้องมีเรื่องให้เราต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ คนในครอบครัวอีก เราก็คงไม่มีเงินเพียงพอที่จะให้ ตรงนี้อาจจะลองมองหาทางช่วยด้านอื่นที่ไม่ต้องใช้เงินดูบ้าง

เช่น ช่วยหางานที่ดีให้ ช่วยถ่ายทอดความรู้ที่จำเป็น ลงแรงช่วยแทนการให้เงิน หรืออาจจะช่วยหาข้อมูล ที่เป็นประโยชน์ อย่างข้อมูลสินเชื่อที่มีภาระดอกเบี้ยไม่สูง แล้วให้คนเหล่านั้นได้สู้ชีวิตด้วยตัวเองบ้าง อย่างน้อยเราก็ได้ช่วยทุกคนอย่างเต็มที่แล้ว

4. ปรับไลฟ์สไตล์การใช้เงิน ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น

หลังจากกำหนดสัดส่วน การใช้เงินสำหรับค่าใช้จ่ายแต่ละประเภทแล้ว เราอาจจะเหลือเงินไว้ใช้จ่ายในแต่ละวันค่อนข้างน้อย ตรงนี้เราก็ควรที่จะปรับไลฟ์สไตล์ การใช้เงินของเราแล้วล่ะ ลองดูว่าค่าใช้จ่ายอะไรที่ไม่จำเป็น ก็ตัดออก หรือจ่ายให้น้อยลง

และถ้าสามารถเตรียมอาหารไปกิน ที่ทำงานได้ ก็จะช่วยลดรายจ่ายได้อีกทางหนึ่ง เรียกว่าเป็นการบริโภคตามฐานะ เอาไว้มีเงินมากขึ้น หายใจหายคอ ได้คล่องขึ้น เราค่อยเพิ่มงบสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ให้มีความสุขมากขึ้น ตามฐานะทางการเงินที่มั่นคง

5. ป้องกันรายจ่ายที่ไม่คาดคิด ด้วยหลักประกัน สุ ข ภ า พ

เพื่อไม่ให้ค่ารักษาพยาบาลของเรา และคนในครอบครัว ที่เราดูแล มากระทบต่อการวางแผนการเงิน ทำให้มีปัญหาทางการเงินซ้ำซ้อน ยากที่จะแก้ไข โดยในช่วงแรกถ้าเราไม่มีเงินพอที่จะซื้อประกัน สุ ข ภ า พ เราก็อาจจะใช้สิทธิ์ของรัฐไปก่อน

เช่น ประกันสังคม หรือสิทธิหลักประกัน สุ ข ภ า พ 30 บาท (บัตรทอง) ลองดูว่าคนที่เราต้องดูแลสามารถ รับสิทธิ์ไหนได้บ้าง เพราะอย่างน้อยก็ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายเมื่อเกิดเหตุด้าน สุ ข ภ า พ ขึ้นได้ แล้วถ้ารายได้เรามากขึ้น ก็หา ประกัน สุ ข ภ า พ ที่ให้ความคุ้มครอง และดูแลทุกคนได้ดีขึ้น

ใครที่อ่านมาถึงตรงนี้ แล้วรู้ว่าตัวเองมีภาระที่ต้องแบกรับไว้ ค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายที่บ้าน ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ ค่าที่พัก ค่าเดินทางไปทำงาน ในขณะที่ยังมีรายได้น้อยอยู่ อย่าเพิ่งท้อใจไป

ลองนำ 5 ขั้นตอนนี้ ไปปรับใช้ในการวางแผนการเงินส่วนตัว ให้เราได้เอาตัวรอดให้ได้ ขอแค่เรามีการวางแผนการเงินที่ดี และการรู้จักรักษาวินัย ในการใช้เงินจะช่วยให้เราจัดสรรการใช้จ่ายได้เอง ถึงแม้จะมีเงินน้อยอยู่ก็ตาม ถ้ามีตรงไหนที่คิดว่าทำไม่ได้

ก็ลองหาวิธีที่เข้ากับสไตล์ของตัวเรามากขึ้น เพราะสุดท้าย ต่อให้แผนดีแค่ไหน แต่ถ้าปฏิบัติไม่ได้จริง ก็ไม่มีประโยชน์ เราจึงต้องดูที่ผลลัพธ์เป็นหลัก

แล้วถ้าจะหามุมมอง ที่เป็นด้านบวกจากเรื่องนี้ ก็คงจะเป็นประสบการณ์ดี ๆ ที่เราจะเอาตัวรอดได้ ด้วยเงินเดือนอันน้อยนิด แต่มีภาระหนักอึ้งที่ต้องรับผิดชอบ

ด้วยการวางแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพ ขอบอกเลยว่าถ้าใครสามารถ ผ่านสถานการณ์นี้ไปได้ เมื่อถึงวันหนึ่งที่เรามีรายได้มากขึ้น เราจะมีชีวิตที่ดีขึ้นไปเรื่อย ๆ อย่างแน่นอน

ขอขอบคุณ k r u n g s r i

Load More Related Articles
Load More By wansuk
Load More In ข้อคิด

Check Also

เจ้านาย 8 แบบนี้ ที่ไม่ควรเป็นหัวหน้าคน

1.เจ้านาย ทรงอำนาจ เจ้านายประเภทนี้ จะดีแต่ออกคำสั่ง มักแสดงพฤติกรรม การใช้อำนาจขณะทำงานหร…