Home ข้อคิด 10 เรื่องที่ควรจะรู้ ก่อนคิด “ค้ำประกัน” ให้คนใกล้ตัว

10 เรื่องที่ควรจะรู้ ก่อนคิด “ค้ำประกัน” ให้คนใกล้ตัว

9 second read
0
0
30

การทำสัญญา เงินกู้หรือการขอสินเชื่อ ตามสถาบันการเงินต่างๆ

ผู้ให้กู้ส่วนใหญ่ มักต้องการบุคคลที่จะมาค้ำประกันการทำสัญญานั้นๆ

เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า หากลูกหนี้ผิดนัดชำระค่างวดผู้ค้ำประกันจะเป็นผู้รับผิดชอบ

ในการชำระหนี้แทน “ค้ำประกัน” คำธรรมดาๆ จึงพลิกชีวิตหลายใครหลายๆ คน

ให้กลายเป็นหนี้ แบบไม่รู้เนื้อรู้ตัวหรือเสียกัลยานมิตรเพราะเพลี่ยงพล้ำค้ำประกัน

ให้คนรู้จักหรือญาติพี่น้อง แต่มีการผิดนัดชำระจนต้องแบกรับภาระหนี้แทน

ฉะนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจ เซ็นค้ำประกันให้ใคร จึงควรความเข้าใจกับสิ่งสำคัญ

ที่เกี่ยวข้อง กับการค้ำประกัน 10 ข้อ ที่ควรรู้ก่อนเป็น “ผู้ค้ำประกัน”

1. ควรดูรายละเอียดสัญญา ให้แน่ชัดว่าลูกหนี้มีทรัพย์สินหรือเงินซึ่งสามารถชำระหนี้ได้

2. สัญญาค้ำประกัน ต้องทำเป็นหนังสือ และลงลายมือชื่อของคู่สัญญา

3. ควรอ่านสัญญาทุกครั้ง ก่อนเซ็นค้ำประกัน

และห้ามเซ็นสัญญา ที่เขียนว่า “ให้ผู้ค้ำประกันยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้”

4. ผู้ค้ำประกันจะรับผิดแทนลูกหนี้ ต่อเมื่อลูกหนี้ผิดนัด ชำระหนี้ตามที่ตกลงในสัญญาเท่านั้น

5. หากเจ้าหนี้ลดหนี้ให้ลูกหนี้เท่าไร ความรับผิดชอบ ของผู้ค้ำประกันก็ลดลงเท่านั้นเช่นกัน

6. หากข้อตกลง ในสัญญาเป็นภาระให้กับผู้ค้ำประกันเกินสมควร ข้อตกลงนั้นจะเป็นโมฆะ

7. ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้นจากความรับผิดชอบ เมื่อยื่นขอชำระหนี้

ตามกำหนดเวลา แต่เจ้าหนี้ปฏิเสธไม่ยอมรับการชำระหนี้นั้น

8. ผู้ค้ำประกันจะหลุดพ้น จากความรับผิดชอบ หากเจ้าหนี้ยอมขยายเวลาผ่อนหนี้แก่ลูกหนี้

9. ผู้ค้ำประกันไม่ต้อง ชำระดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน ค่าทวงถามหากเจ้าหนี้ไม่แจ้ง

เป็นหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ ภายใน 60 วัน นับแต่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้

10. หลังชำระหนี้ แทนลูกหนี้ ผู้ค้ำประกันมีสิทธิ ฟ้ อ ง ลูกหนี้

ตามวงเงินที่ชำระแทน พร้อมดอกเบี้ย และค่าเสียหายอื่นๆ

ดังนั้น ก่อนที่จะ “เซ็นค้ำประกันสัญญา” ใดๆ ให้กับผู้อื่น จึงควรที่จะคิดให้ดี

ก่อนตัดสินใจ ควรทำความเข้าใจถึงสิทธิ์ และผลผูกพันในการเซ็นสัญญาค้ำประกันให้กับผู้อื่น

ขอขอบคุณ b a n g k o k b i z n e w s

Load More Related Articles
Load More By wansuk
Load More In ข้อคิด

Check Also

เจ้านาย 8 แบบนี้ ที่ไม่ควรเป็นหัวหน้าคน

1.เจ้านาย ทรงอำนาจ เจ้านายประเภทนี้ จะดีแต่ออกคำสั่ง มักแสดงพฤติกรรม การใช้อำนาจขณะทำงานหร…