Home ข้อคิด 4 พฤติกรรมฟุ่มเฟือย ที่มักจะทำให้ไม่มีเงินเก็บ

4 พฤติกรรมฟุ่มเฟือย ที่มักจะทำให้ไม่มีเงินเก็บ

8 second read
0
0
60

1. ไม่วางแผนการใช้เงิน

เชื่อว่าหลายคน ไม่เคยวางแผน การใช้เงินในแต่ละเดือน และไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องทำ เมื่อมีรายได้จากการทำงานหรือได้รับเงิน

จากคุณพ่อคุณแม่มาเท่าไร ก็ใช้จ่ายไปอย่างเต็มที่ อยากทานอะไร อยากได้อะไรก็ซื้อทันที พอรู้ตัวอีกทีก็ตอนสิ้นเดือนซึ่งเงินเริ่มไม่พอใช้แล้ว

จึงต้องหาทางประหยัดค่าใช้จ่ายหรือไม่ก็ต้องขอเงินคุณพ่อคุณแม่เพิ่มเติมให้เป็นภาระท่านอีกจะดีกว่าไหม หากเรารู้จักวางแผนการใช้เงิน

ตั้งแต่ต้นเดือน โดยเริ่มจากการออมก่อนใช้อย่างน้อย 20% ของรายได้เพื่อให้มีเงินเก็บส่วนเงินที่เหลือก็ให้คำนวณออกมา

ว่าจะต้องใช้สัปดาห์ละเท่าไร หากคิดเป็นรายวัน ควรใช้ไม่เกินวันละเท่าไร จึงจะเพียงพอต่อการใช้ใน 1 เดือน

วิธีนี้นอกจากจะช่วยให้มีเงินใช้เพียงพอในแต่ละเดือนแล้ว ยังช่วยให้เรามีเงินเก็บทุกเดือนอีกด้วย

2. ใช้จ่ายเงินเกินตัว

การใช้จ่ายเงินเกินตัวถือ เป็นอีกหนึ่งพฤติกรรมที่ทำให้ไม่มีเงินเก็บ หลายคนใช้เงินเกินรายได้หรือรายรับที่เข้ามา

เช่น ซื้อสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ซื้อของใช้แบรนด์เนม พวกเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า เครื่องสำอาง ชอบไปเที่ยวสังสรรค์

ทานอาหารนอกบ้านในร้านหรูๆ หรือชอบดื่มชา กาแฟราคาแพง ทั้งนี้ก็เพราะเป็นห่วงเรื่องภาพลักษณ์ หน้าตา

และต้องการการยอมรับในสังคมหารู้ไม่ว่าพฤติกรรมเหล่านี้เป็นตัวผลาญเงินในกระเป๋าอย่างดี และเป็นสาเหตุหลัก

ที่ทำให้เราไม่มีเงินเก็บ ดังนั้น ลองหาทางปรับลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยในส่วนนี้ลงโดยอาจจะเริ่มทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย

เพื่อให้เห็นว่ามีรายรับเท่าไหร่ ในแต่ละวันเราใช้เงินไปกับอะไรบ้าง และมองเห็นภาพว่าตรงจุดไหนคือค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

ที่ว่า จะจดใส่สมุดบันทึกส่วนตัวหรือใช้บริการแสนสะดวกสบาย ผ่านสมาร์ทโฟนก็ได้ : บัญชีรายรับ-รายจ่ายยุคใหม่

ทำได้ง่ายด้วยสมาร์ทโฟน จากนั้นก็พยายามใช้จ่ายเงินในชีวิตประจำวันให้ เหมาะสมกับรายได้ที่ได้รับก็จะช่วยให้เรามีเงินเก็บ

3. ใช้บัตรเครดิตไม่เป็น

บัตรเครดิต เปรียบเสมือน ด า บ สองคม หากใช้เป็นก็จะเกิดประโยชน์กับเรามากมาย แต่ถ้าใช้บัตรไม่เป็นก็สามารถ บ่ อ น ทำ ล า ย สถานะการเงินของเราได้เช่นกัน

บางคนใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้าตามใจ โดยลืมนึกถึงว่าเมื่อครบกำหนดชำระแล้วจะมีเงินไปจ่ายเต็มจำนวนหรือไม่ซ้ำ ร้ า ย กว่านั้นคือ บางคนคิดว่าหากไม่มีเงินจ่ายเต็มจำนวนก็ไม่เป็นไร

ใช้วิธีผ่อนจ่ายขั้นต่ำ 10% เอาก็ได้ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด เพราะเท่ากับว่าเรายอมเป็นหนี้และยอมจ่ายดอกเบี้ยสูงถึง 20% ต่อปี นอกจากจะไม่มีเงินเก็บแล้วยังมีหนี้มาให้ ป ว ด หั ว อีกต่างหาก

ดังนั้น ต้องรู้จักใช้บัตรเครดิตให้เป็น โดยท่องไว้ ให้ขึ้นใจว่า รูดบัตรไปเท่าไรต้องหาเงินมาชำระให้ตรงเวลาและเต็มจำนวนเท่านั้น

4. ไม่มีเป้าหมายในการเก็บเงิน

หลายคนใช้ จ่ายเงินไปวันๆ โดยไม่มีเป้าหมาย ในการเก็บเงิน ไม่รู้ว่าจะเก็บเงินไปทำไม เลยไม่คิดที่จะเก็บเงิน เรียกว่าไม่มีแรงจูงใจในการเก็บเงินก็ว่าได้

ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เราไม่มีเงินเก็บ ในทางกลับกัน หากเรามีเป้าหมายในการเก็บเงิน เช่น ตั้งใจจะเก็บเงินจำนวน 200,000 บาท เพื่อเรียนต่อปริญญาโทในอีก 2 ปีข้างหน้า

คราวนี้เราก็รู้แล้วว่าจะต้องเก็บเงินไปเพื่ออะไร ทำให้มีแรงจูงใจ ในการเก็บเงินมากขึ้น และสามารถคำนวณได้ว่า ต้องเก็บเงินเดือนละเท่าไรจึงจะมีเงินไปเรียนต่อตามที่ตั้งใจไว้

สุดท้ายนี้ ถึงแม้ว่าช่วงวัยเรียน หรือวัยเพิ่งเริ่มต้นทำงาน เงินเก็บที่มีอาจจะน้อย หรือยังเก็บเงินไม่ค่อยได้ ก็อย่าเพิ่งกังวลไป ถ้าเรามีความมุ่งมั่นตั้งใจเก็บเงิน

สามารถหลีกเลี่ยงพฤติกรรม ที่ทำให้ไม่มีเงินเก็บ หรือเปลี่ยนพฤติกรรม การใช้เงินที่ไม่ดีได้ รับรองว่าจะมีเงินเก็บไว้ใช้ในอนาคตอย่างแน่นอน

ขอขอบคุณ d d p r o p e r t y

Load More Related Articles
Load More By wansuk
Load More In ข้อคิด

Check Also

เจ้านาย 8 แบบนี้ ที่ไม่ควรเป็นหัวหน้าคน

1.เจ้านาย ทรงอำนาจ เจ้านายประเภทนี้ จะดีแต่ออกคำสั่ง มักแสดงพฤติกรรม การใช้อำนาจขณะทำงานหร…