
แนะนำ 5 วิธีเปลี่ยนนิสัย “ให้มีเงินเก็บอยู่มือ” ลองนำไปปรับ ใช้กับตัวเอง “เงินทอง เป็น ของนอกกาย ไม่ต า ยก็หาใหม่ได้ แต่ชีวิตมิอาจไม่สบาย ถ้าบั้นปลายไม่มีเงินเก็บสักที” เป็นมั้ยเงินเดือนออกทีไร ก็ชอบไปกินอาหารญี่ปุ่นที่ร้านยอมจ่ายราคาแพงๆสำหรับหนึ่งมื้อพอถึงปลายเดือนเท่านั้นแหละ
จึงต้องกินอาหารญี่ปุ่นที่บ้านทุกที (บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป55) แทนที่จะได้รับสารอาหาร อย่างพอดี ตลอดทั้งเดือน เงินเดือ น ทำไมเป็นเงินท อ น อย่ าว่าแต่เหลือเก็บเลย แค่ใช้ให้ถึงสิ้นเดือนได้ ก็เก่งแล้ว
ส่วนเงินในอนาคตที่มา เป็นบัตรพลาสติกก็ใช้ จนเต็มวงเงิน แล้วอย่างนี้ แก่ตัวไปจะมีเงินใช้หรือเปล่า ทำไงดีหล่ะ? มีหลายคนเก็บเงินไม่อยู่ เพราะใช้เงินเก่งกว่าหามา บางคนก็มีเหตุจำเป็น ที่ต้องใช้
เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าบ้าน ค่าเทอม ค่าซ่อมแซมรถ ค่าอื่น ๆ อันนี้พอเข้าใจได้ แต่บางคนกลับผลาญเงินไปกับสิ่งที่ไม่จำเป็น อยู่ตลอดทุกๆเดือนจนเป็นนิสัยแก้ไม่ได้
เช่น ซื้อโทรศัพท์เครื่องใหม่ ทดแทนเครื่องเก่า ทั้งที่ยังใช้งานได้อยู่ แต่แค่ตกรุ่นไปบ้าง, ซื้อเครื่องเสียงใหม่ เพราะเครื่องเสียงเก่า ไม่รองรับบลูทูธ หรือหมดไปกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ที่ยังรอเวลาได้ วันนี้เราจึงแนะนำเผย 5 ข้อ นี้ไปปรับใช้ดูนะ อาจจะทำให้คุณมี เงินเก็บมากขึ้น
1. ไม่ต้องเป็นที่สุดก็ได้มั่ง
การกลัว จะตกรุ่น ถ้าซื้อของชิ้นนี้ ก็กลัวที่จะอายเพื่อนเขา ถ้าซื้อรุ่นต่ำ ถ้าซื้อรุ่นใหม่ที่สุด น่าจะอยู่ได้นาน ความคิดแบบนี้ไม่ได้ถูกต้องเสมอไปนะ ถ้าคุณกลัวตกรุ่นแล้วหล่ะ
ก็สินค้าที่คุณซื้อวันนี้ ปีหน้าก็ออกรุ่นใหม่มาอีก แล้วเครื่องเก่าของคุณ ก็จะตกรุ่นอยู่ดี กลัวที่จะอายเพื่อนแต่บางครั้งของใช้ ก็ไม่ใช่ของที่จะเอามาโชว์ ลองเปลี่ยนแนวคิดใหม่ดู
ซื้อเท่าที่จำเป็นนะเพราะ ความจำเป็นของคนเราไม่เท่ากัน และเงินในกระเป๋า ก็ไม่เท่ากัน ยอมจ่ายเท่าที่เราใช้งานก็เพียงพอแล้วคำนึงถึงความคุ้มค่าเป็นหลัก
2. ลองเอาเงิน ไว้ไกลตัว
เงินทองนั้น ถ้าอยู่ใกล้ตัวหยิบเอามาใช้ได้ง่าย ก็หมดเร็ว ลองดูเอาเงินไว้ไกลๆ เช่น ฝากธนาคารแบบไม่มีบัตร ATM ต้องไปเบิก ที่สาขาอย่างเดียว โอกาสที่จะเบิกเงินส่วนนั้น มาใช้ก็จะยิ่งน้อยลง
ทั้งนี้ ต้องจัดสรรให้ดีนะครับ เช่น เงินที่ใช้ประจำวัน หรือเผื่อฉุกเฉิน จะต้องนำมาใช้ได้ง่ายหน่อย ส่วนเงินเก็บก็ควรเอาไว้ไกลๆยิ่งเบิกยากยิ่งดีและบัตรเครดิตน่ะ
ลืมเอาติดตัวไปบ้างก็ได้นะ จะได้ไม่รูดเพลิน จนเป็นหนี้ท่วมหัวหมดตัวได้
3. ไม่ไป ยั่ ว กิ เ ล ส ในแหล่ง อั น ต ร า ย
หลายคนชอบเดินเล่นดูของ ที่ตัวเองอยาก ได้อยู่เสมอ ทำให้เกิดกิเ ล สความอยากทวีคูณขึ้น จนต้องหาเหตุผลให้ของเก่าที่มีอยู่เช่น เดินดูโทรศัพท์มือถือบ่อย ๆ เพราะชอบความแ ป ล กใหม่ของยี่ห้อต่าง ๆ
พอกลับมาบ้านกลับกลายเป็นว่าโทรศัพท์ที่มีอยู่ อยู่ดี ๆ ก็เกิดช้าเกิดอาการค้างขึ้นมา ทั้ง ๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน เปิดก็ช้า ปิดก็ช้า ไม่มีฟังก์ชั่นใหม่ๆ เหมือนเครื่องที่เพิ่งสัมผัสมาตอนเย็น
ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ใช้งานได้ดีมาโดยตลอด เลยคิดว่า ควรจะเปลี่ยนเพราะ ไม่ตอบโจทย์แล้ว อาการแบบนี้แหละ ที่เป็นอันต รายต่อเงินในกระเป๋าอย่างยิ่ง
4. ให้คนอื่นหรือแฟน มาบังคับ
ถ้าลองแล้วบังคับตัวเอง ไม่ได้จริง ๆ คงต้องพึ่งคนอื่นแล้วหล่ะ ยังไงก็เก็บเงินไม่อยู่ ทั้งๆ ที่ลองมาหลายวิธีแล้วลองวิธีนี้ฝากเงินแบบฝากประจำทุกเดือน เพิ่มวินัยให้ตัวเอง ต้องเอาเงินไปฝากธนาคารทำประกันชีวิตรายปี
ที่ต้องจ่ายทุกปี เมื่อครบกำหนด ยิ่งพวกประกันชีวิต 10 ปีขึ้นไปเอามาหักภาษีได้อีกก็ยิ่ง มีเงินเก็บเพิ่มเติมอีก การให้คนอื่นบังคับแบบนี้ อาจทำให้เรามีวินัย ในการเก็บเงินมากขึ้น ยิ่งมีเงินเก็บมากขึ้น ก็ยิ่งมีความมั่นคงมากขึ้น
5. จงพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่แล้ว
ก่อนทีจะซื้อของใหม่นั้น ลองคิดคิดดีๆ ให้รอบคอบก่อนว่า มันจำเป็นจริงๆหรือเปล่า ชำรุดเสียหายแล้วจริง ๆ ใช้งานไม่ได้แล้วจริง ๆ หรือแค่อยากได้เพราะเพื่อนยุ เพราะเครื่องเก่า เพราะอยากทันสมัยหรือเพราะมี โ ป ร ล ด ร า ค า ถ้าจำเป็นจริงๆ ค่อยตัดสินใจซื้อ ถ้ายังใช้งานได้อยู่ ก็ควรรออีกซักพักจะดีกว่านะ
แต่หากเงินเก็บอย่างเดียว ไม่พอคุณต้องรู้จักบริหาร เงินเก็บที่ให้งอกเงยด้วย มี ดอกมีผลให้คุณทวีความมั่งคั่ง แต่ถ้าคุณเอาเงินเก็บไว้ ในบ้านเฉย ๆ ไม่มีทาง ที่จะได้ผลประโยชน์ บางที ป ล ว ก มาแทะอีก หมดกันคราวนี้
ขอขอบคุณ k i d d e e p o s t