
ลูกยิ่งลูกโต เราเองก็หวังจะลูกให้เป็นเด็กเชื่อฟัง สอนง่ายเหมือนก่อน มันก็เป็นเรื่องยาก
เพราะเขาก็มีความคิดของตัวเอง เริ่มคิดเองได้ บางเรื่องก็บอกไม่ได้ สนใจสิ่งที่อยู่ตรงหน้ามากกว่า
บางทีลูกก็ไม่อยากคุย ไม่อยากทำในสิ่งที่พ่อแม่ต้องการเลย เพราะงั้นจึงทำเป็นหูทวนลมเพิกเฉย
ต่อคำพูดพ่อแม่ไป และนี่แหละมันอาจเป็นที่มาของปัญหา
1. สอนด้วยคำพูดและสายตาแห่งความรัก
เมื่อลูกทำผิดคุณอาจจะทนไม่ได้ที่จะตะคอกไป จนกลายเป็นคำพูดแรงๆ ทั้งยังไม่สนใจฟังในสิ่งที่ลูกอยากอธิบายอีก
การขึ้นเสียงการตะคอกมันอาจทำให้ลูกสงบลงได้ก็จริงแต่ในอนาคตลูกก็จะทำอีก ฉะนั้น สิ่งที่ควรทำ
คือ เริ่มจากดึงความสนใจลูก เช่น เรียกชื่อลูกใช้คำพูดง่ายๆ ให้ลูกทบทวนในสิ่งที่ทำไป ใช้น้ำเสียงที่หนักแน่น
แต่ไม่ดุดันเกินไป บอกทางป้องกันแก้ปัญหาจะดีกว่านะเพราะนอกจากคำพูดกับน้ำเสียงแล้ว ยังมีภาษากายที่สำคัญ
ที่จะทำให้ลูกรับฟังมากขึ้นลองพูดกับเขาดีๆ พูดด้วยสายตาแห่งความรัก แล้วลูกจะเชื่อฟังเข้าใจคุณมากขึ้น
2. สอนด้วยการตกลงระหว่างกัน
ก็ส่วนมากเด็กก็มีอะไรที่ชอบ ที่ไม่ชอบ และบ่อยครั้งที่คุณให้ลูก ทำสิ่งที่ไม่ชอบแล้วนานเกินไปจนลูกเริ่มไม่เชื่อฟังพ่อแม่
และสิ่งที่ควรทำนั้นก็ต้องทำให้ เด็กวัย 2-3 ขวบ ที่เป็นวัยแห่งการ ต่ อ ต้ า น เราลองให้ข้อเสนอเพื่อเป็นข้อตกลงดูสิ
เพื่อลดการโต้เถียงลงได้ บางทีเขาอาจจะฟังเรามากขึ้น
3. หาสาเหตุหลักๆ ว่าอะไร คือสิ่งที่ทำให้เขาไม่เชื่อฟังเรา
เพราะถ้าลูกเป็นเด็กที่ไม่เชื่อฟัง บางทีอาจเป็นเพราะ กำลังโกรธหรือเสียใจ ต้องการให้พ่อแม่เอาใจแต่ถึงอย่างไรซะ
สิ่งที่ควรทำ คือ พูดคุยและหาคำตอบว่าทำไมกันลูกไม่เชื่อฟังบอกรักลูกบ่อยๆ ให้ลูกรู้ไว้ว่ามีพ่อแม่อยู่ข้างๆ ให้กำลังใจเสมอ
และสังเกตทัศนคติวิธีคิดของเขาด้วย รวมถึงการพูด ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะเข้าใจลูกมากขึ้น จะได้เข้าใจถึงปัญหาเหล่านั้น
4. สอนด้วยการใช้เทคนิค ที่สามารถเข้าใจง่ายๆ
เด็กเขาอาจจะยังฟัง ประโยคยาวๆ ไม่เข้าใจเหมือนผู้ใหญ่สิ่งที่ควรทำคือ ใช้วิธีสอนเขาในแบบที่ให้จำง่ายขึ้น
เช่น พูดให้ตื่นเต้น วันนี้ทำอะไรที่โรงเรียนบ้างล่ะลูก หลีกเลี่ยงคำว่าไม่หรือห้าม เพราะทำให้ลูกไม่อยากทำตาม
และนอกจากนี้ พ่อแม่อาจเปลี่ยนมาใช้การให้คะแน นเพื่อให้ลูกมีเป้าหมายที่จะทำมันในการเชื่อฟังพ่อแม่มากขึ้น
5. สอนลูกจากการเป็นแบบอย่างที่ดีให้เขาเห็น
เพราะในช่วงวัยเด็กเค้ามักจะเลียนแบบพฤติกรรมของคนใกล้ชิดของเขา และไม่สามารถแยกได้ว่าอะไรไม่ควรหรือควรทำ
มันจึงทำให้หลายครั้ง ลูกเผลอเลียนพฤติกรรมไปแล้วเมื่อถูกตำหนิ ต่อว่าลูกจึงไม่เข้าใจ ว่าทำไมพ่อแม่ทำได้ล่ะ
และการทำให้ลูกเกิดความสงสัยแล้วพ่อแม่ก็ไม่อธิบาย แล้วนำไปสู่สาเหตุที่ทำให้ลูกเริ่มไม่เชื่อฟังเราต้องให้ลูกเรียนรู้
จากการกระทำที่ดีๆ ของพ่อแม่ มากกกว่าคำพูดเพราะฉะงั้น พ่อแม่ต้องเป็นตัวอย่างให้ลูกเห็น ว่าอะไรดี หรือไม่ดี
6. สอนลูกใช้ความคิด สอนให้แก้ปัญหาด้วยตัวเอง
การที่เราใช้ประโยคคำสั่ง มันเพียงแค่ทำให้ลูกรู้สึก ว่าตัวเองไม่ได้เรื่องเลยทำอะไรก็ไม่ดีไปหมด และมันยังส่งผลต่อลูก
ทำให้เขาไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเองไปเลยก็ได้อาจกลายเป็นคนไม่มั่นใจเมื่อโตไป ไม่กล้าที่จะคิดอะไรใหม่ๆ
เพราะงั้นเราต้องฝึกให้ลูกใช้ความคิด ฝึกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง อย่างเช่น ไหนลูกลองคิดสิว่าจะเอาตุ๊กตาตัวนี้เก็บไว้ไหนดี
และนอกจากนี้ควรหากิจกรรมสนุกๆ ทำด้วยกัน เมื่อพ่อแม่เห็นลูกทำไม่ถูกต้อง จะได้สอนลูกให้คิดได้แก้ปัญหาเป็น
และแทรกเรื่องของคุณธรรม จริยธรรมไปได้ด้วย
7.ฟังในเรื่องที่ลูกจะบอกด้วย
ก็เพราะบางสิ่งที่พ่อแม่คิด มันก็ไม่ได้ถูกต้อง สำหรับลูกเสมอไป เพราะเด็กแต่ละคนเขาก็มีความคิดเป็นของตัวเอง
และสิ่งที่ควรทำ เราต้องถามให้รู้ว่าลูกคิดอะไรทำไปเพื่ออะไร มีจุดประสงค์อะไร จากนั้นจงตั้งใจฟังสิ่งที่ลูกพูด
ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ลูกผ่อนคลายลดความกังวลลงไปได้
ขอขอบคุณ a b o u t m o m