Home ข้อคิด เคล็ดลับออมเงินให้สนุก แบบไม่กดดันตัวเอง

เคล็ดลับออมเงินให้สนุก แบบไม่กดดันตัวเอง

7 second read
0
0
833

เรามีทริกการออมเงินดี ๆ ที่นอกจากจะไม่ เ ค รี ย ด และช่วยให้ ร่ า ง ก า ย ผ่อนคลายแล้ว

ยังทำให้เรามีความมั่นคงทางการเงินที่ดีอีกด้วย เพราะเรื่องเงิน เก็บแบบเพลิน ๆ ก็สนุกได้ จะมีทริกอะไรบ้าง มาดูกันเลย

1. ออมเงินเท่าที่ไหว ต้องไม่กดดันตัวเอง

หลายคนเมื่อเงินเดือนออกก็มีภาระหนี้สิน ที่ต้องจ่ายตามหน้าที่ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ทำให้เหลือเงินใช้จ่ายประจำวันเพียงน้อยนิด หลายคนจึงมักท้อใจ เ ค รี ย ด ว่าตัวเองไม่มีเงินเก็บ

แต่รู้ไหม บางครั้งเราก็ไม่จำเป็นต้องออมเงินให้เหมือนคนอื่นที่เก็บเดือนละเป็นหมื่น ๆ ก็ได้ ลองจัดสรรเงินให้ดี หลังจากชำระหนี้ทุกเดือน อาจลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นลงบ้าง ทำให้เงินเหลือมากขึ้นตอนสิ้นเดือน ถึงแม้จะเหลือเพียงหลักพัน หลักร้อย

แต่ถ้าเรามีวินัยทางการเงินที่ดีเก็บเล็กผสมน้อย แล้วรู้จักนำเงินไปต่อยอด เช่น การซื้อกองทุนรวม แค่เพียง 1 พันต่อเดือน เงินจำนวนที่ไม่เยอะของเราก็จะพอกพูนขึ้นมาได้เอง ไม่ต้องไป เ ค รี ย ด ไม่ว่าจะมีเงินเหลือเก็บเท่าไหร่ ขอแค่คุณเริ่มต้นได้ก็ดีแล้ว

2. ออมเงินตามสถานการณ์ในแต่ละเดือน

ในตอนนี้ที่สภาพเศรษฐกิจชะลอตัว สำหรับคนที่มีรายได้ไม่แน่นอน หรือเป็นมนุษย์เงินเดือน อาจกำลังหวั่นใจกับการเงินในช่วงนี้ จึงต้องเตรียมพร้อม เรื่องการใช้เงิน ทำให้เงินในส่วนที่ต้องเอามาเก็บอาจน้อยลงหรือเพิ่มขึ้น ก็ขึ้นอยู่กับความ เ สี่ ย ง ของแต่ละคน

บางคนก็สามารถเก็บได้เยอะ เพราะทำงานที่บ้าน ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง แต่บางคนก็มีรายจ่ายมากขึ้น เพื่อใช้หมุนเวียนในการทำธุรกิจในช่วงที่มีการ ร ะ บ า ด ของ เ ชื้ อ ไ ว รั ส โ ค วิ ด-1 9 ทำให้มีเงินเก็บต่อเดือนน้อยลง

ถ้าใครเหลือเงินต่อเดือนน้อยเก็บน้อยหน่อย แต่ถ้ามีเหลือมากก็ออมเงินมากขึ้น การมีเงินเก็บไว้ในยุคนี้มีแต่ข้อดี เพราะหากเจอสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ยังมีเงินมาใช้จ่ายโดยไม่ต้องไปหยิบยืมจากใครให้เป็นหนี้โดยไม่จำเป็น

3. ตั้งมิชชั่นออมเงิน เหมือนเล่นเกมผ่านด่าน

ถ้าการเก็บเงินแบบเดิม ๆ ทำให้คุณไม่มีแรงจูงใจ คล้ายกับขาดอะไรไป ในชีวิต ลองเพิ่มความสนุกและลดความน่าเบื่อกันดูไหม โดยเปลี่ยนให้การเก็บเงินเหมือนกับเรากำลังเล่นเกม อย่าเพิ่งงงกันไป เราสามารถเริ่มต้นง่าย ๆ โดยอาจแบ่งเป้าหมายการออมเงิน 1 ปีออกเป็นมิชชั่นในแต่ละเดือน

เช่น ในเดือนแรก ออมเงินให้ถึง 2,000 บาท และในเดือนต่อ ๆ ไปค่อยเพิ่มจำนวนการเก็บให้มากขึ้น แต่ถ้าเราเก็บไม่พอในเดือนไหน ก็ถือว่าเกมโอเวอร์ แล้วย้อนกลับมายังมิชชั่นการเก็บเงินแบบเดือนแรก ทำแบบนี้ท้าทายดีไหมล่ะ

ถึงแม้จะเริ่มต้นเล่นแล้วพลาด ก็อย่าเพิ่งเสียใจไป อย่างน้อยเราก็ยังมีเงินที่เก็บเอาไว้ เมื่อคุณใช้ทริกออมเงินแบบการเล่นเกมได้ จนถึงมิชชั่นสุดท้าย ที่คุณตั้งเอาไว้ ก็ลองตั้งเป้าหมายให้มันใหญ่ขึ้น ทริกแบบนี้ยังเอาไปปรับใช้กับอย่างอื่นได้ด้วยนะ เช่น การออกกำลังกายหรือการเรียน ฝึกครั้งเดียวได้ประโยชน์อีกมากเลย

4. หาเป้าหมายในการออมเงินให้เจอ แล้วไปให้ถึง

สำหรับเป้าหมายในชีวิต ของแต่ละคน ไม่มีใครมีเหมือนกัน บางคนอาจอยากเก็บเงินเพื่อซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือแค่มีเงินเก็บไว้เยอะ ๆ เพื่อที่จะได้อุ่นใจ เมื่อเจอเหตุการณ์ที่ไม่ปกติ แต่การตั้งเป้าหมายใหญ่ ๆ เพียงอันเดียวอาจทำให้รู้สึกท้อแท้ใจได้ง่ายว่าเป้าหมายมันอยู่ห่างไกล

แนะนำให้ลองตั้งเป้าหมายแบบระยะสั้นดู เช่น จากเดิมจะออมเงินเพื่อซื้อบ้าน ก็ลองออมเงินเพื่อซื้อ เฟอร์นิเจอร์ที่เราอยากได้ แบ่งเก็บเป็นหลายกอง เพื่อไปหาเป้าหมายใหญ่ ควรค่อย ๆ หาเป้าหมายระยะสั้น เพื่อทำให้ใจรู้ว่าการเก็บเงินมันก็ไม่ได้ยาก

หรืออาจใช้ทางลัดโดยการนำเงินเก็บจากเป้าหมายที่เราทำไว้แบบสั้น ๆ ไปลงทุนในกองทุนรวม หรือหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูง เช่น RMF หรือ SSF ทำแบบนี้นอกจากจะสบายใจไม่ เ ค รี ย ด แล้ว ยังมีโอกาสไปถึงเป้าหมายแบบทันใจด้วย

สำหรับทริกเรื่องเงินออม ที่เราแนะนำไป สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องหยิบข้อใดมาใช้ข้อเดียว อาจหยิบจุดเด่นของแต่ละข้อมาผสมใช้กันให้เข้ากับตัวของคุณได้

เพราะการออมเงิน ควรทำอย่างมีความสุข ถ้าทำแบบต้องฝืนใจ อาจสร้างความทุกข์จนเราไม่อยากจะเก็บเงินอีกต่อไป

ขอขอบคุณ k r u n g s r i

Load More Related Articles
Load More By wansuk
Load More In ข้อคิด

Check Also

เจ้านาย 8 แบบนี้ ที่ไม่ควรเป็นหัวหน้าคน

1.เจ้านาย ทรงอำนาจ เจ้านายประเภทนี้ จะดีแต่ออกคำสั่ง มักแสดงพฤติกรรม การใช้อำนาจขณะทำงานหร…