Home ข้อคิด เคล็ดลับ 7 ข้อ บริหารเงินให้มีใช้ไม่ขาดมือ เปลี่ยนตัวเองให้มีนิสัยใช้เงินเป็น

เคล็ดลับ 7 ข้อ บริหารเงินให้มีใช้ไม่ขาดมือ เปลี่ยนตัวเองให้มีนิสัยใช้เงินเป็น

6 second read
0
0
28

1. รู้สถานะการเงินของตัวเอง และเริ่มกำหนดงบค่าใช้จ่าย

สิ่งที่สาวๆ ต้องทำให้ได้ก่อนเริ่มต้นเก็บออมเงิน ก็คือการรู้สถานะการเงินของตัวเองก่อนนั่นเองค่ะ ถ้าอยากรู้ว่าสถานะการเงินของตัวเองเป็นยังไง ก็ให้เริ่มจดบันทึกรายรับ – รายจ่ายในแต่ละเดือนว่า ได้รับเงินเดือนเท่าไหร่ มีรายได้ช่องทางอื่นๆ จากไหนบ้าง

รวมทั้งมีรายจ่าย ที่สำคัญส่วนไหนบ้าง เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต ค่าเช่าบ้านค่าของกินของใช้ ฯลฯ เพื่อที่จำสำรวจดูว่า แต่ละเดือนมีรายรับมากกว่ารายจ่ายหรือค่าใช้จ่ายเกินรายได้ และค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ไปอยู่ที่ส่วนไหนจนเกินพอดีรึเปล่า

คราวนี้พอรู้แล้วก็จะช่วยให้กำหนดงบค่าใช้จ่าย และจัดสรรปันส่วนเงินสำหรับเก็บออม ในแต่ละเดือนได้ง่ายขึ้น หากวางแผนการใช้เงินได้ดี รู้ว่าควรใช้ / เก็บเท่าไหร่ ก็จะช่วยให้สถานะการเงินดีขึ้นแน่นอน

2. จดลิสต์รายการสิ่งของ ก่อนออกไปซื้อของทุกครั้ง

ขอถามหน่อยสิว่าเวลาสาวไปซื้อของตามซูเปอร์มาร์เก็ต หรือห้างสรรพสินค้า ปกติแล้วเธอจะคิดก่อนว่ามีอะไรที่จำเป็นต้องซื้อบ้าง หรือเดินดุ่มๆ เห็นสินค้าตัวไหนเข้าตาน่าลองก็คว้าใส่รถเข็น แล้วเดินไปจ่ายสตางค์กันแน่?! ถ้าเป็นอย่างหลังก็ไม่ต้องตกใจกับราคาที่ปรากฏบนใบเสร็จเลยนะ

เพราะการออกไปเดินซื้อของแบบไม่ได้วางแผนล่วงหน้า มันจะยิ่งเพิ่มโอกาสที่จะเผลอซื้อของที่ไม่จำเป็นหรือใช้เงินเกินงบได้ง่ายๆ เราเลยอยากแนะนำ ว่าก่อนออกไปซื้อของทุกครั้ง ควรจดลิสต์รายการสิ่งของจำเป็นต้องซื้อใส่กระดาษหรือโน้ตในโทรศัพท์ไว้ล่วงหน้า

เพื่อที่จะได้มุ่งตรงไปซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่ต้องมี / ต้องใช้ในชีวิตประจำวันก่อน และช่วยตัดรายการ ของที่ไม่จำเป็นออกไป วิธีนี้ก็จะช่วยให้ใช้เงินไปกับของที่จำเป็นจริงๆ มากกว่าเสียไปกับของที่อยากได้และช่วยประหยัดเงินไปได้เยอะเลยด้วย

3.ของชิ้นไหนที่ไม่ได้ใช้ ก็นำไปขายหารายได้เสริม

ใครที่รู้ว่าตัวเองกำลังถือคติ “ ซื้อแล้วไม่ได้ใช้… ดีกว่าอยากได้แล้วไม่ได้ซื้อ ” อยู่ตอนนี้ ก็ต้องรีบปรับเปลี่ยนทัศนคติแบบด่วนจี๋ ก่อนที่เงินในบัญชีจะไม่เหลือนะคะ! ที่เตือนแบบนี้ ก็เพราะเรารู้ว่าต้องมีสาวๆ หลายคนมีนิสัยเปย์เก่ง / CF ไว / โ อ น เร็ว ชอบซื้อของแบบขาดสติ

พอเห็นสินค้าตัวไหนที่ชอบปุ๊บก็ตัดสินใจซื้อปั๊บแบบไม่คิดหน้าคิดหลัง สุดท้ายก็จบตรงที่มีของ ( ไม่จำเป็น )วางกองอยู่เต็มบ้านโดยที่ไม่มีโอกาสหยิบมาใช้งานเลยสักครั้งเดียว ในเมื่อรู้แล้วว่านิสัยซื้อของเก่งแบบนี้เป็นต้นเหตุที่ทำให้ไม่เหลือเงินเก็บ ก็ได้เวลาที่จะต้องลุกขึ้นมาค้นตู้เสื้อผ้า

และค้นบ้านดูแล้วละว่ามีเสื้อผ้า / สิ่งของชิ้นไหนที่ซื้อมาแล้วไม่มีวี่แวว ว่าจะได้ใช้แน่ๆ เพื่อนำมาขายหารายได้เสริม ถึงแม้ลึกๆ ในใจจะแอบเสียดาย แต่ก็ขอให้คิดไว้เลยนะว่าตั้งไว้เฉยๆ ก็เปลืองเนื้อที่เปล่าๆสู้เอาไปขายแล้วนำเงินที่ได้มาเก็บเข้าบัญชีไว้สำหรับใช้จ่ายกับอะไรที่จำเป็นแทนละกัน

4. เวลาเจอของที่อยากได้ให้ตั้งกฎ 10 วินาที

ใจเย็นๆ ก่อนค่ะ เราเข้าใจดีนะว่าเวลาเห็น ของที่มันล่อตาล่อใจ หรือเห็นแล้วมีเสียงในหัวว่า #ของมันต้องมี ก็อย่าเพิ่งมือไวใจเร็วแล้วรีบหยิบไปจ่ายเงินเด็ดขาด เพราะไม่งั้น เธออาจกลับมานั่งคอตกที่บ้านแล้วถามตัวเองว่า “ ซื้อมาทำไมเนี่ย?! ” แทนได้นะ

ทางเราก็มีทริคในการหักห้ามใจสำหรับคนชอบช้อปมาให้ลองนำไปใช้เวลาซื้อของกันค่ะ โดยเมื่อไหร่ก็ตามที่สาวๆ เดินไปเจอสิ่งที่ ( รู้สึก ) อยากได้ ก็ขอให้ตั้งกฎ 10 วินาที เพื่อถามใจตัวเองให้ดีๆ ว่า “ เราต้องการมันจริงหรอ? ” / “ ของชิ้นนี้จำเป็นแค่ไหน? ” / “ ซื้อไปแล้วจะได้ใช้จริงๆ รึเปล่า? ” / “ ที่บ้านมีของคล้ายๆแบบนี้แล้วรึยัง? ”

เพื่อให้เวลาตัวเองได้พิจารณาถึงความจำเป็น ก่อนตัดสินใจซื้อ ซึ่งหากสิ่งของชิ้นนั้นๆ มันทำให้รู้สึกไม่แน่จะว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ ก็ให้วางลงแล้วเดินผ่านไปเฉยๆ จะดีกว่า

5. อย่าผูกบัตรเครดิตไว้กับแอปฯ / เว็บซื้อของออนไลน์

ลองกดเข้าไปในแอปพลิเคชัน หรือเว็บซื้อของออนไลน์ที่ใช้เป็นประจำ เพื่อเช็กดูหน่อยสิว่าเธอได้ผูกบัญชีบัตรเครดิตไว้กับแอปฯ หรือเว็บเหล่านั้นรึเปล่า??? ถึงแม้ว่าการผูกบัตรเครดิตไว้ล่วงหน้า มันจะช่วยให้การซื้อของเป็นเรื่องง่าย สะดวกสบายและรวดเร็ว

เพราะไม่ต้องกรอกข้อมูลใหม่ทั้งหมดเวลาจะซื้อของแต่ละครั้ง แต่ความง่ายและเร็ว ก็เป็นเหมือนดาบสองคมที่ ฟั น เงินในบัญชีออกไปง่ายๆ ด้วยเหมือนกันแบบนี้คนที่อยากประหยัดและเริ่มต้นเก็บออมเงินให้สำเร็จ ก็ควรกดปุ่มยกเลิกผูกบัญชีบัตรเครดิตไว้กับแอปฯ / เว็บซื้อของออนไลน์ให้ไวเลยนะคะ

แล้วถึงแม้การยกเลิกการผูกบัตรเครดิตมันจะไม่ได้ช่วยตัดกิเลสความอยากได้โดยตรง แต่ช่วงเวลาที่เดินไปหยิบบัตรมากรอกข้อมูลอาจเกิดเปลี่ยนใจไม่ซื้อแทนก็ได้

6. พยายามทำอาหารกินเองมากกว่าซื้อกินนอกบ้าน

ช่วงนี้ที่ต้องใช้ชีวิตติดบ้านมากขึ้นเพราะสถานการณ์ โ ค วิ ด และยังไม่สามารถไปนั่งกินข้าวในร้านอาหารได้เหมือนช่วงเวลาปกติ หลายคนก็อาจเปลี่ยนมาเลือกใช้บริการสั่งอาหารเดลิเวอรีกินที่บ้านแทนแต่สำหรับคนที่อยากประหยัดสตางค์หรืออยากเก็บเงินให้ได้เป็นกอบเป็นกำ

ถ้าต้องสั่งอาหารเดลิเวอรี มากินทุกวันก็คงไม่เหลือเงินเก็บแน่ๆ เพราะต้องจ่ายทั้งค่าอาหารและค่าส่ง เราเลยอยากให้ลองเปลี่ยนมาทำอาหารกินเองแทนจะดีที่สุดค่ะ โดยอาจจะออกไปซื้อวัตถุดิบมาตุนไว้ที่บ้าน

แล้วทำอาหารจานโปรดเมนูต่างๆ ไม่แน่ว่าจ่ายเงินซื้อของในราคาหลักร้อย แต่อาจทำอาหารกินได้เป็นอาทิตย์เลยก็ได้นะ

7.จดโน้ตในโทรศัพท์ทุกครั้งเวลาหยิบเงินออกไปใช้จ่าย

ต่อให้สาวๆ จะเป็นคนที่ ความจำดีเลิศ จำแม่น จำเก่งขนาดไหน แต่ก็คงต้องมีบางเรื่องบางอย่างที่เผลอลืมไปบ้างเหมือนกันแน่ๆ ซึ่งสำหรับคนที่อยากจะประหยัดเงิน และเริ่มต้นเก็บเงินการหยิบเงินออกไปใช้จ่ายในแต่ละครั้ง ถือเป็นเรื่องที่ต้องเก็บรายละเอียดให้ครบถ้วน

อย่าปล่อยให้ตกหล่นเด็ดขาดเลยนะ โดยอาจใช้วิธีจดบันทึกลงโน้ตในโทรศัพท์ทุกครั้ง ที่จ่ายเงินซื้อของหรือจ่ายบิลค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อกันลืมได้อย่างง่ายและสะดวกรวดเร็ว แล้วอาจกลับมาเช็กบันทึกรายจ่ายทุกๆ 1 – 2 วัน

เพื่อดูว่าเผลอใช้จ่ายฟุ่มเฟือยหรือสิ้นเปลืองไปกับสิ่งไหนมากเกินไปรึเปล่าวันต่อๆ ไปจะได้ระมัดระวังมากขึ้นกว่าเดิมไงละ

แล้วทั้งหมดนี้ที่สาวได้อ่านไป ก็คือเคล็ดลับประหยัดเงินแบบง่ายๆ ที่เราหยิบมา แ ช ร์ ให้ได้ทำตามกันทั้ง 7 ข้อค่ะ ซึ่งสิ่งสำคัญที่ต้องทำให้ได้ถ้าอยากจะมีเงินเก็บเหลือใช้ก็คือการใช้เงินอย่างมีสติ และคำนึงถึงความจำเป็นมากกว่าความอยากได้อยากมีนั่นเอง

เพราะต่อให้เธอจะเป็นคนที่ทำงานหาเงินเก่ง หรือมีเงินฝากในบัญชีจำนวนมากๆ ถ้าติดนิสัยใช้จ่ายฟุ่มเฟือย อยากได้อะไรก็ซื้อโดยที่ไม่คำนึงถึงอนาคตวันข้างหน้า ก็มีโอกาสที่เงินเก็บเหล่านั้นจะหายวับไปภายในพริบตาเดียวได้

แต่หากเธอใช้เงินอย่างรู้คุณค่า วางแผนการใช้จ่ายอย่างดี และพยายามประหยัดในส่วนที่ทำได้ ก็จะช่วยให้เก็บเงินได้ง่ายขึ้นเยอะเลย

ขอขอบคุณ s i s t a c a f e

Load More Related Articles
Load More By wansuk
Load More In ข้อคิด

Check Also

เจ้านาย 8 แบบนี้ ที่ไม่ควรเป็นหัวหน้าคน

1.เจ้านาย ทรงอำนาจ เจ้านายประเภทนี้ จะดีแต่ออกคำสั่ง มักแสดงพฤติกรรม การใช้อำนาจขณะทำงานหร…