Home ข้อคิด 5 การกระทำคนเป็นหัวหน้า ที่ไม่ควรปฏิบัติต่อลูกน้อง

5 การกระทำคนเป็นหัวหน้า ที่ไม่ควรปฏิบัติต่อลูกน้อง

9 second read
0
0
367

1.ขาดการเคารพให้เกียรติลูกน้อง

เพราะการสวมบทบาทของหัวหน้างาน คือการใส่หัวโขน ซึ่งหัวโขนที่ใส่อยู่ นั้นก็ไม่ควรทะนงตนว่า เราคือหัวหน้างานมีอำนาจ ในการสั่งงานชี้นิ้วกับลูกน้อง เพราะการเอาแต่ชี้นิ้ว

แต่ไม่เคยสอนไม่เคยคุย ไม่เคยถาม ลูกน้อง จะทำให้การทำงานตรึง เ ค รี ย ด มากกว่าทำงานด้วยความสนุกสนาน วันนี้ลองทำแบบใหม่ นั่นคือเจอหน้าลูกน้อง ก็เริ่มด้วยการทักทายพูดคุย ถามสารทุกข์สุกดิบกันบ้าง

ก่อนเริ่มทำงานสร้างความพร้อม ก่อนเริ่มงานด้วยการพูดคุย เน้นย้ำเป้าหมายในสิ่งที่ทำหากเจอปัญหาก็หันหน้ามาคุยกันแก้ไขปัญหาไปด้วยกันมากกว่าปล่อยปัญหาสะสมจนยากจะแก้ไข

หรือหากเรามีลูกน้องที่อายุมากกว่า ก็ลองให้เกียรติลูกน้องคนนั้นด้วยการยกมือไหว้สวัสดี เปิดการทักทาย ต่อลูกน้องก่อนดีกว่าทำตัวนิ่ง ๆ หน้าบึ้ง ๆ เพราะการครองใจผู้อื่นได้นั้น เราต้องเริ่มต้นจากการให้ใจคนอื่นก่อนจำไว้ว่า เราเปลี่ยนแปลงคนอื่นไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนแปลงตัวเราเองได้ครับ

2. ตำหนิผลงาน ที่ผิดพลาดต่อหน้าลูกน้องคนอื่น

การเป็นหัวหน้างานที่ดี ได้นั้นต้องคำนึงเรื่องการพูดอยู่เสมอ เพราะก่อนพูดเราเป็นนายคำพูด แต่เมื่อพูดไปแล้วคำพูดจะเป็นนายเราย่อมยาก ที่จะหวนคืนกลับมา ดังนั้น จงคิดก่อนพูดทุกครั้งและอย่าใช้คำพูดที่ทำให้ลูกน้อง เสียหาย เสียหน้า เสียใจและเสียความรู้สึก

โดยเฉพาะการตำหนิผลงาน ที่ผิดพลาดต่อหน้า ลูกน้องคนอื่นเป็นสิ่งที่หัวหน้างานที่ดีจะไม่ทำกัน ซึ่งหากต้องการตำหนิควรเรียก มาพบเป็นการส่วนตัว ย่อมดีกว่า ยกเว้นกรณีที่ผลงานของลูกน้องคนนั้นทำได้ดี ก็ควรชื่นชมต่อหน้าลูกน้องคนอื่น ๆ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป

3. ปิ ด กั้ น ความคิดเห็นของลูกน้อง

การทำงานส่วนที่ สำคัญมาก ๆ คือ ทักษะการฟัง ฟังให้เข้าใจ และแยกแยะข้อมูลเพื่อนำมาพิจารณาตัดสินใจ มากกว่าฟังเสียงตัวเอง เพียงข้างเดียวเพราะ การทำงานคนที่รู้ดีที่สุด คือ คนที่อยู่หน้างานหากเรากล้าเปิดใจถามลูกน้องและฟังเสียงลูกน้องด้วยความเป็นธรรม จริงใจ

เราจะได้ข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งนี้ ลูกน้องคงไม่มีอำนาจตัดสินใจแทนหัวหน้างาน แต่การได้ข้อมูลที่มากๆ ย่อมดีกว่าที่ไม่มีข้อมูลใดๆ เลยจริงไหมครับ !! อีกอย่าง หากเรา ปิ ด กั้ น ความคิดของลูกน้องมากเท่าไหร่

ถึงเวลาเมื่อเราเปิดใจฟังลูกน้องมากขึ้น ก็อาจสายเกินแก้เพราะลูกน้องอาจไม่กล้าพูด หรือไม่อยู่พูดแล้วก็ได้ครับ

4.สื่อสารไม่ชัดเจนในการมอบหมายงาน

การมอบหมาย งานมี 2 แบบ คือ แบบปากเปล่าและลายลักษณ์อักษรทั้งนี้ การมอบหมายงานโดยเฉพาะ วาจา ทุกครั้งเวลามอบหมายงาน ต้องพูดให้ชัดเจนและเฉพาะเจาะจงมากกว่า พูดห้วน ๆ สั้น ๆ

เช่น พรุ่งนี้นำงานมาส่งพี่ตอนเช้าบนโต๊ะทำงานนะจะสังเกตว่าตัวอย่างที่ให้ไม่ค่อยชัดเจนเท่าไหร่ เพราะคำว่า “เช้า”ตีความหมายได้หลายเวลา ซึ่งหากเราไม่ได้ทวนคำพูดนั้นกลับจากลูกน้องย่อมอาจเกิดการคลาดเคลื่อน ในเรื่องเวลาไม่มากก็น้อยนะครับกลับกัน

หากเราพูดว่า พรุ่งนี้นำงานมาส่งพี่ตอนเช้า เวลา 9.00 น.บนโต๊ะทำงานนะและก่อนให้ลูกน้องไปทำงาน ก็ทวนคำสั่งนั้นอีกครั้งจากกลูกน้อง เพื่อให้การสื่อสารตรงกันทั้งผู้ส่งส าร คือหัวหน้า และผู้รับส าร คือลูกน้องย่อมมีโอกาสทำให้งานเดินไปได้อย่างราบรื่น

ไม่สะดุดหัวทิ่มจนงานหลุดเกิดความผิดพลาดครับ ทั้งนี้หากลูกน้องนำงานมาส่งก่อนเวลา ก็ควรชมบ้างเพื่อเป็นกำลังใจ แต่หากยังไม่ถึงเวลานัดหมาย ก็ไม่ควรไปเร่งจี้เอางานนั้นนะครับ

ยกเว้นอาจเดินไปไถ่ถาม ด้วยคำพูดเชิงการให้คำปรึกษาเช่น งานเป็นอย่างไรบ้าง ติดขัดตรงไหนให้พี่ช่วยไหม เพื่อทำให้ลูกน้องเกิดขวัญกำลังใจที่ดีในการเป็นห่วงจากหัวหน้างาน ลองดูนะครับ

5.ทำหน้าท้อกับงานต่อหน้าลูกน้อง

บางครั้งคนเราย่อมมีอาการ ท้อถอยกับงานได้ ซึ่งไม่ผิดหรอกครับ เป็นเรื่องปกติแต่การท้อต่อหน้าลูกน้อง ก็ไม่ควรทำเช่นเดียวกัน เพราะหากวันนี้ หัวหน้ายังไม่เชื่อในงานนั้น ๆ ที่ทำลูกน้องก็ย่อมไม่เชื่อมั่น ในตัวหัวหน้างานเช่นเดียวกัน

ดังนั้น การเป็นอย่างที่ดีกับลูกน้องทั้งเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัวคือสิ่งที่หัวหน้างานที่ดี ต้องคำนึงอยู่เสมอทั้งนี้ ทุกครั้งที่เจอปัญหาในการทำงานจงอย่าเลือกคิดแก้ไขปัญหาเพียงลำพังแต่ควรใช้หลักคิดการแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยให้ลูกน้องช่วยกันเสนอความคิดเห็นในการประชุมงาน

อาจเป็นรายวัน หรือ รายสัปดาห์ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหา ร่วมกันมากกว่าที่หัวหน้างานเอาแต่ เ ค รี ย ด อยู่คนเดียว เชื่อผมเถอะ !! การทำงานที่ดีนั้น ต้องช่วยกันโดยหัวหน้างานต้องสร้างคำว่า

ร่วมใจ ร่วมคิด และร่วมทำ

ร่วมใจ = การสร้างความไว้ เ นื้ อ เชื่อใจเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกน้อง

ร่วมคิด = ช่วยกันคิดในการแก้ไข ปัญหาร่วมกัน

ร่วมทำ = ช่วยกันสร้างผลลัพธ์ ของงานให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรร่วมกัน

ทั้ง 5 ข้อ คือ สิ่งที่ผู้นำไม่ควรทำต่อ ลูกน้องในการปกครอง บริหารทีม

ลองสำรวจตนเองนะครับ ว่าทุกวันนี้เรามี 5 ข้อที่ผมกล่าวถึงหรือไม่หาก มีก็ควรปรับปรุงแก้ไข คิดถึงเสมอว่าใจเขาใจเราเราอยากได้อย่างไรต่อผู้อื่นก็ควรทำแบบนั้นก่อนเสมอครับ

จำไว้ว่า เราเลือกผู้นำเราไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะเป็นผู้นำที่ดี และเป็นผู้นำที่ภาวะผู้นำได้ครับ

ขอขอบคุณ d r f i s h.t r a i n i n g

Load More Related Articles
Load More By wansuk
Load More In ข้อคิด

Check Also

เจ้านาย 8 แบบนี้ ที่ไม่ควรเป็นหัวหน้าคน

1.เจ้านาย ทรงอำนาจ เจ้านายประเภทนี้ จะดีแต่ออกคำสั่ง มักแสดงพฤติกรรม การใช้อำนาจขณะทำงานหร…